ชนเผ่าพื้นเมือง

กะเหรี่ยง (KAREN) “ปกาเกอญอ”

ประวัติความเป็นมา ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว

ลีซู (Lishu) หรือ ลีซอ

ประวัติความเป็นมา ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต เดิมอาศัยอยู่ที่ต้นแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศจีน และเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 ถูกกดดันทางการเมือง การปกครอง และขาดแคลนที่ดินทำกินในพม่า ชาวลีซอจึงได้อพยพเข้ามาบะเว

ลาหู่ (LAHU) หรือ มูเซอ

ความเป็นมา ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีนเมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน เชียงแสน เชียงของ เวียงป่าเป้า แม่สรวย จังหวัดเชียงราย และอำเภอฝาง อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ม้ง (Mong)

ประวัติความเป็นมา ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และตอนเหนือของประเทศไทย บริเวณ ประมาณ พ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว

ไทใหญ่ (TaiYai)

ประวัติความเป็นมา ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า “ไต” พม่าเรียกว่า “ ชาน” หรือ “ ฉาน “ ชาวไทใหญ่ที่อยู่ในเขตประเทศจีน เรียกตนเองว่าเป็นไทเหนือด้วยถือว่าอาศัย อยู่ทางเหนือของแม่น้ำคง (สาขาของแม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใต้ ในประเทศไทย มีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอาศัย

จีนยูนาน (Chainese Yunnan) หรือ จีนฮ่อ (Haw)

ประวัติความเป็นมา ชาวจีนจากมณฑลยูนนานได้เดินทางค้าขายระหว่างจีนตอนใต้กับเมือง ต่างๆในรัฐฉาน ล้านนา และพม่า มีชื่อเรียกในภาษาล้านนาว่า “ฮ่อ” หมายถึงชาวจีนซึ่งอยู่ที่มณฑลทางใต้ของจีน พม่า เรียก จีนภูเขา ชาวจีนที่ส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยนั้นคนไทยหรือคนล้านนารู้จักกันดีว่าเป็น

ข้อมูลจาก : การท่องเที่ยวโครงการหลวง